Friday, July 22, 2011

(เล้า) พื้นที่เก็บพักผลงานทางศิลปะ (Lounge)

พื้นที่เก็บพักผลงานทางศิลปะ แห่งใหม่ by Gallery SeeScape ของต่อลาภ ลาภเจริญสุข


























Sunday, February 6, 2011

Trans Siberian, Sketchbook Exhibition by Pharadorn Phonamnuai


นิทรรศการ Trans Siberian Sketch book exhibition โดย ปอ ภราดล พรอำนวย
12-28 กุมภาพันธ์ 2554 ณ แกลลอรี่ ซีสเคป ถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 17 จ.เชียงใหม่


ช่วง รอยต่อของตะวันตกกับตะวันออกเป็นยังไง? คนหน้าตาแบบไหนจะอยู่ที่นั่นบ้าง แสงแดดสองฟากจะไล่โทนกันไปไหมหรือฟากหนึ่งมืดแต่ฟากหนึ่งจะยังคงสว่างจ้า ชายร่างใหญ่ที่ใช้ตะเกียบคีบข้าวจะยังใช้ตะเกียบคีบขนมปังแซนวิชที่แทรกเข้า มาตรงกลางระหว่างทางของเขตแดนหรือไม่.....
หลายคำถามบนโลกไม่เคยพบคำตอบ ที่ตรงกัน ตัวเราเองนั่นละที่ต้องไปพิสูจน์เองให้เห็นกับตา และนั่นจึงเป็นที่มาของ ‘การเดินทางสู่เส้นทางสายไซบีเรียน โดย ปอ ภราดล พรอำนวย นักดนตรีวัย 29 ปี’ ที่แบกแซกโซโฟนขึ้นหลังตามวิถีบวกกระเป๋าแบ็กแพ็กเน่าๆหนึ่งใบออกเดินทาง ด้วยเท้าผสมกับโบกรถไปเรื่อยโดยเริ่มจากจังหวัดเชียงใหม่ผ่านประเทศลาว จีน มองโกเลีย รัสเซีย สาธารณรัฐลัตเวีย เยอรมนี เบลเยียม กระทั่งไปสุดปลายทางที่ฝรั่งเศส ใช้ระยะเวลาเดินทางทั้งสิ้นรวม3เดือนเศษ
คุณ อาจเคยเห็นภาพนักดนตรีคนนี้กับลีลาเป่าแซ็กโซโฟนที่เล่นไปตามสัญชาติญาณ ทั้งในแจ๊สบาร์ของเขารวมไปถึงอีกหลายๆสถานที่ทั้งในและต่างประเทศอันแล้วแต่ โอกาสจะอำนวย หากอีกภาคหนึ่งเขาก็ไม่เคยทิ้งความผูกพันในงานศิลปะวาดๆเขียนๆที่ร่ำเรียนมา ทั้งจากการศึกษาในขั้นป.ว.ส. เทคโนสถาปัตย์และปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์อุตสาหกรรมศิลป์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยนอกจาก ‘นักดนตรี’อาชีพหลักแล้ว อดีตเขายังเคยทำงานอิสระเป็นครั้งคราวให้กับทีมสถาปนิกในส่วนของการออกแบบด ราฟสเก็ตส์สีน้ำ และปัจจุบันก็เป็นนักวาดภาพอิสระควบคู่ไปกับการเดินทางและเล่นดนตรี
พูดถึง ‘อุปกรณ์บันทึกการเดินทาง’ แล้ว คุณนึกถึงอะไร? ดิจิตอลความละเอียดยิบ วิดิโอแฮนดิแคม โลโม่เวอชั่นล่าสุดหรือ สมุดสเก็ตภาพ?
สำหรับ ทุกกการเดินทางของ ปอ ภราดล พรอำนวย เมื่อแซกโซโฟนคือมือขวาของเขา สมุดสเก็ตภาพก็คงถือเป็นมือซ้ายที่จะพกติดตัวไปทุกที่เพื่อบันทึกความเป็นไป ข้างทาง
‘สเน่ห์ของการบันทึกวาดลงกระดาษจากความเป็นไปที่เห็นอยู่ตรง หน้ากับเวลาที่ นั่งมองและทำความเข้าใจอย่างไม่เร่งร้อนกระทั่งได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ของสีหน้าผู้คน กริยาท่าทางและสถานที่นั้นๆแบบนาทีต่อนาที จากเงาที่ค่อยๆกระเถิบตัวย้ายข้างหรือสุนัขที่วิ่งเข้ามาอย่างกระทันหัน’ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อภาพสเก็ตซ์ที่กำลังบันทึกอันถือเป็นการทดสอบตัว เองทั้งในเรื่องของสมาธิและยังเทคนิกต่างๆที่เขาได้ทดลองใช้อันหมายรวมไปถึง การบันทึกลงเศษวัสดุที่หาได้รอบตัว ณ ขณะนั้น ไม่ว่าจะกระดาษเช็ดปาก กระดาษหนังสือพิมพ์ ฯ
ทั้งหมดเป็นที่มาของนิทรรศการ Trans Siberian Sketch book exhibition ระหว่างวันที่ 12-28 กุมภาพันธ์ 2554 ณ แกลลอรี่ ซีสเคป ถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 17 จ.เชียงใหม่
กับการเล่าเรื่องเดินทาง ผ่านสมุดสเก็ตซ์ภาพ ‘สู่เส้นทางสายไซบีเรียน’ ที่ต้นฉบับจริงได้ถูกนำมาขยายและจัดแสดงในรูปแบบของผลงานภาพพิมพ์ อาทิภาพบรรยากาศการรอคอยและการจากลาของผู้คนในสถานีรถประจำทาง พอทเทรทนักเดินทางต่างสีผิวที่พบเจอในรถไฟ เพื่อนนักเดินทางบนเก้าอี้นั่งตัดผม ฯ ทั้งสมุดสเก็ตภาพเล่มจริงก็จะได้นำมาจัดแสดงให้ชมด้วย โดยในวันเปิดงานแสดง(12กุมภาพันธ์ 2554 ตั้งแต่เวลา18.00น.เป็นต้นไป) จะมีการฉายสไลด์มัลติวิชั่นตัดสลับกับเสียงแซ็กโซโฟนของ ปอ ภราดล พรอำนวย ศิลปินและเจ้าของผลงาน ที่จะอิมโพรไวส์เล่าการเดินทางของช่วงรอยต่อซีกโลกตะวันตกกับโลกตะวันออกให้ ผู้เข้าชมได้ฟัง เพื่อพาคุณร่วมย้อนเวลาเดินทางไปกับเขา
.... สู่เส้นทางสายไซบีเรียน


words by Pattrica Lipatapanlop